สถานที่ตั้งและขอบเขต

เลขที่ 1 ถ.วรวิชัย ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน 55000
ขนาดเตียง 502 เตียง (ไม่รวมเตียง ICU,ไม่รวมเตียงห้องคลอด )
เนื้อที่ 48 ไร่ 86 ตารางวา
โทรศัพท์. 054-719-000 (30 คู่สาย), 054-771-620-2 ต่อ 1100,1101,0 งานประชาสัมพันธ์ผู้ป่วยนอก
โทรสาร. 054-719015 อีเมล์ : nanhospital@nanhospital.go.th  

ประวัติโรงพยาบาลน่าน

    โรงพยาบาลน่าน เริ่มก่อสร้าง พ.ศ. 2497  บนเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่  ซึ่งเป็นพื้นที่ของ มณฑลทหารบกที่ 7 (ในขณะนั้น) ตามนโยบาย ของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งให้กรมการแพทย์ดำเนินการจัดตั้ง โรงพยาบาลประจำจังหวัดน่านขนาด 25 เตียงขึ้นด้วยงบประมาณ
ก่อสร้าง 1,500,000 บาท (หนึ่งล้านห้าแสนบาทถ้วน) โดยคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติ เงินการกุศลเพื่อการศึกษาและสาธารณสุข (ก.ศ.ส.) ในจำนวนดังกล่าวให้ และทำการก่อสร้างเป็นระยะ เวลาประมาณ1 ปีเศษจึงแล้วเสร็จทำพิธีเปิด เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2499
ประกอบด้วย อาคารทำการ 3 หลัง บ้านพัก 4 หลังผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินการก่อตั้งโรงพยาบาล ประจำจังหวัดน่าน ประกอบด้วย....    พ.ต.นายแพทย์หลวงนิตย์ เวชชวิศิษฐ    อธิบดีกรมการแพทย์ ซึ่งได้มอบหมายให้ นายแพทย์ หลวงสนั่น  วรเวช รองอธิบดีกรมการแพทย์ร่วมจัดหา สถานที่ก่อสร้างกับนายแพทย์ศุภชัย มโนหรทัต อนามัยจังหวัดน่านในขณะนั้น ในการดำเนินกิจการของ
โรงพยาบาลได้มีผู้บริหารซึ่งดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการ จนถึงปัจจุบันนี้ จำนวน 8  ท่าน ดังนี้

    1.  นายแพทย์พัฒนา   ตระกูลดิษฐ์  
         ปฏิบัติงาน  ระหว่าง         พ.ศ. 2499-2500
    2.  นายแพทย์กิจชัย      ยิ่งเสรี
         ปฏิบัติงาน  ระหว่าง         พ.ศ. 2500-2507
    3.  นายแพทย์บุญยงค์     วงศ์รักมิตร
        ปฏิบัติงาน  ระหว่าง     พ.ศ. 2507-2537
    4. นายแพทย์คณิต ตันติศิริวิทย์
         ปฏิบัติงาน ระหว่าง พ.ศ. 2537-2551
     5. นายแพทย์นิวัตชัย สุจริตจันทร์
         ผู้อำนวยการ ปฏิบัติงานในปี 2551 - 2555
     6. นายแพทยพิษณุ ขันติพงษ์
         ผู้อำนวยการ ปฐิบัติงานในปี 2555 - 2557
     7. แพทยหญิณัฐภร ประกอบ
         ผู้อำนวยการ ปฐิบัติงานในปี 2557 - 2559
     8. นายแพทยภราดร มงคลจาตุรงค์
         ผู้อำนวยการ ปฐิบัติงานในปี 2559 - 2562

     9. แพทย์หญิงอัจฉรา ละอองนวลพานิช
         ผู้อำนวยการ ปฐิบัติงานในปี 2562 - ปัจจุบัน

    นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งโรงพยาบาลน่านเป็นต้นมา ได้มีการพัฒนาระบบการให้บริการสาธารณสุข อย่างต่อเนื่องและเนื่องจาก จังหวัดน่านอยู่ในพื้นที่ที่มีการก่อการร้ายของ ผกค. ทำให้พลเรือน ตำรวจ ทหารได้รับบาดเจ็บจากการสู้รบเป็นจำนวนมาก
ในแต่ละปี   อีกทั้งการคมนาคมยังไม่สะดวกทั้งภายในจังหวัด  และติดต่อกับต่างจังหวัด ทำให้โรงพยาบาลน่านต้องพัฒนาตนเอง อย่างมาก ในทุกๆด้าน เพื่อให้สามารถรับกับภาระกิจทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขในพื้นที่ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้จน
กระทั่ง การสู้รบได้สิ้นสุดลงในปี 2526 (การสู้รบอยู่ในระหว่างปี 2511ถึง2526 )ซึ่งเป็นยุคที่ นายแพทย์บุญยงค์  วงศ์รักมิตร เป็นผู้อำนวยการ  นับว่าเป็นช่วงเวลาแห่งการพัฒนาอย่างแท้จริงเพราะมีการพัฒนา โรงพยาบาลน่าน จากการเป็นโรงพยาบาลขนาด
56 เตียง จนขยายเป็นโรงพยาบาล ทั่วไปขนาดใหญ่  430 เตียง มีศักยภาพในการให้บริการเพิ่มขึ้นอย่างมาก เป็นสถานที่สร้างสรรค์ นักบริหารและนักวิชาการ ด้านการแพทย์ และ สาธารณสุขที่มีความสามารถ มีคุณธรรมจำนวนมาก ให้แก่วงการแพทย์และสาธารณสุข
ของประเทศไทยในปัจจุบัน รวมทั้งเป็นแบบอย่างของระบบสาธารณสุขหลายอย่างเช่นการให้บริการ แบบผสมผสานซึ่งรวมถึง การจัดตั้ง กลุ่มงานเวชกรรมสังคมงาน สาธารณสุขมูลฐานเขตเมือง  งานโครงการบัตรสุขภาพ ระบบโรงพยาบาล พี่เลี้ยง  และระบบส่งต่อ (Referral System) ซึ่งมีส่วน เป็นจุดกำเนิดของโครงการพัฒนาระบบบริการ สาธารณสุขส่วนภูมิภาค (พบส.) ของกระทรวงสาธารณสุข  ในปัจจุบันนอกจากนี้ยังได้ก่อสร้างอาคารเพิ่มขึ้นอีก 3 หลัง  หลังแรกคืออาคารตึก 40 ปี เป็นอาคารรักษา 
พยาบาล 4 ชั้น ใต้ถุนสูง สำหรับผู้ป่วย สูติ - นรีเวชกรรมและกุมารเวชกรรม ทำพิธีเปิดตึกเมื่อ 21 กุมภาพันธ์  2541 อาคารหลังที่ 2 เป็นอาคาร 2 ชั้น เป็นอาคารศูนย์จ่ายกลาง, ซักฟอก, โรงครัว, โรงอาหารได้ทำพิธี เปิดตึก เมื่อ 30 กันยายน 2541 อาคารหลังที่ 3 เป็นอาคาร 4 ชั้น ใต้ถุนสูง สำหรับผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์  และศัลยกรรมได้ทำพิธีเปิดตึกเมื่อ กุมภาพันธ์ 2543 ในเดือนสิงหาคม 2547 โรงพยาบาลน่านได้เปิดตึก 120 เตียงใหม่ ตึกวันน่านสันติสุข ซึ่งจะทำให้รองรับผู้ป่วยได้มากขึ้น ละทำให้โรงพยาบาลน่านปรับเปลี่ยน 
เป็นโรงพยาบาลขนาด 491 เตียง สำหรับการให้บริการในปี 2540 โรงพยาบาลน่านได้มีแพทย์ หู คอ  จมูกประจำคนแรก โดยเริ่มให้ บริการรักษา เดือน กรกฏาคม 2540 ในปี 2543 ได้มีแพทย์เพิ่มอีก 1 คน  และในปี 2542 ได้มีจักษุแพทย์ประจำคนแรก เริ่มให้บริการ รักษาเมื่อ กรกฏาคม  2542 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งก่อนหน้านี้ ยังไม่มีจักษุแพทย์ โรงพยาบาลน่าน ได้รับความอนุเคราะห์  จากมูลนิธิพิทักษ์ ดวงตาลำปาง  และพยาบาลเคลื่อนที่โรงพยาบาลศูนย์ลำปางและโรงพยาบาลเอกชน มาช่วยทำการตรวจรักษา  และผ่าตัดโรคตาทุกปี ปีละ 2-3 ครั้ง  ครั้งละ  5-7 วัน โรงพยาบาลน่านมีจิตแพทย์มาให้บริการจิตเวช แก่ประชาชนในปี 2546 นี้ หลังจากขาดช่วงไปหลายปี จากการที่จิตแพทย์คนแรกโยกย้ายไปโดย ช่วงนี้ขาดแคลนจิตแพทย์ได้มีจิตแพทย์ จากโรงพยาบาลสวนปรุง นายแพทย์ปริทรรศน์  ศิลปกิจ มาช่วยให้บริการ ผู้ช่วยจิตเวชที่โรงพยาบาลน่านทุก 3 เดือน สำหรับการบริการในระบบเครือข่ายสืบเนื่องจากนโยบายรัฐบาล ตามโครงการสุขภาพถ้วนหน้าโรงพยาบาลน่านเป็นสถานบริการ ด้านสุขภาพแม่ข่าย(CUP ร.พ.น่าน)ประมาณปี 2544 ประกอบด้วย ร.พ.  น่าน,สถานีอนามัยและสสช.31แห่ง  โดยจัดตั้งหน่วยบริการ ปฐมภูมิ(PCU) 11 PCUดำเนินการโดยมีศูนย์ประสานงาน ,คณะทำงานโครงการ สุขภาพ ถ้วนหน้า และความร่วมมือของเจ้าหน้าที่ทุกกลุ่มงานทุกฝ่ายและทุกงานของ CUP ร.พ.น่าน 
ดำเนินงานตามแผนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องจนกระทั่งปัจจุบัน